วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผ้าขาวม้า


ผ้าขาวม้า


ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชาย สามารถใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว คลุมหัวกันแดด หรือทำเปลก็ได้ บ้างก็เรียกว่า "ผ้าเคียนเอว"

ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตามผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกแบบนี้ หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืนผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา เรียกตามความยาวของผ้าแต่ละผืน

สีและลวดลายของผ้าขาวม้าจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่นโดยทางภาคกลาง ผ้าขาวม้าจะมีลวดลายเป็นตาลายสก๊อต และของภาคอีสานจะเป็นแบบตาเล็กๆ

อุปกรณ์การทอผ้าขาวม้า
1. ด้ายโทเล
2. ไหมประดิษฐ์
3. อุปกรณ์ปั่นด้าย
4. อุปกรณ์ควงด้าย
5. อุปกรณ์ขึงด้าย
6. ที่หวีด้าย
7. กระสวย (ตัววิ่งด้าย)

ขั้นตอนการทอผ้าขาวม้า
1. เตรียมด้ายประดิษฐ์ที่ยังไม่ได้ม้วนใส่ในหลอดแปปมาใส่ โดยนำด้ายประดิษฐ์มาคล้องใส่ในอุปกรณ์การปั่นด้าย เพื่อด้ายจะได้ม้วนออกมาใส่ในหลอดแปปโดยการใช้อุปกรณ์ในการควงเป็นตัวในการปั่นด้ายหลังจากนั้นจึงควงด้าย ควงด้ายใส่หลอดแปปจนหมดโดยการปั่นต้องมีคนปั่นด้วย 1 คน และอีกคน 1เป็นคนเรียงด้าย เพื่อไม่ให้พื้นที่ในการเรียงด้ายไม่เว้นว่าง ควรทำให้เต็มหลอด และไม่ให้ด้ายที่ควง พันกัน
2. นำด้ายมาขึง ไว้บนอุปกรณ์การทอกี่กระตุกด้วยมือ (อุปกรณ์ประกอบขึ้นจากไม้)
3. เริ่มการทอผ้าโดยใช้อุปกรณ์การทอกี่กระตุกด้วยมือ (อุปกรณ์ประกอบจากไม้)
4. โดยใช้กระสวย เป็นตัววิ่งด้าย สลับไปมา ซ้าย-ขวา และในกระสวยจะมีม้วนด้ายที่ต่างๆใส่ไว้ในกระสวย เพื่อสามารถเปลี่ยนสีด้ายได้ เช่น การทำแทบสีผ้าขาวม้า หรือ ลายสีด้าย
6. ทอผ้าขาวม้าต่อไปเลื่อยๆจนเสร็จ เป็นผืน
 

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผ้าห่มทอมือ



          

วิธีการทอผ้า

การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจาก การทำเชือกทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง  จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานพวกตั้งฉากกัน  เส้นด้ายกลุ่มนี้เรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง  ลักษณะของการขัดกันของ  ด้ายพุ่ง และด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่า ลายขัด หรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่งามแปลกตา


ขั้นตอนในการทอผ้า

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าตะกอ แต่ละชุดและฟืมหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมด  ม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง 
2. เริ่มการทอโดยการกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่านสลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ
3. การกระทบฟันหวี  (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณ แล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออก และปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ


การทอผ้ามีอยู่ทุกภาคของประเทศหลักการและวิธีการคล้ายคลึงกัน อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้างการทอนี้ทำด้วย มือโดยตลอดใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต นับตั้งแต่การเตรียมเส้น การย้อมสี และการทอเป็นผืนเครื่องมือทอผ้าเรียกว่า "กี่" มี 2 ชนิด คือ


1. กี่ยกเป็นเครื่องมือที่ยกเคลื่อนที่ได้ ใช้ตั้งบนพื้น ถอดและประกอบได้ง่าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขนาดเท่ากับ กี่ฝัง แต่ทำตั้งสูง กว่า เพื่อให้เท้าถีบกระตุกด้ายในเวลาทอผ้า สะดวกไม่ติดพื้น

2. กี่ฝังคือเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาปักฝังลงดินยึดอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้สร้างกันไว้ตามใต้ถุนบ้าน เป็นเครื่องทอผ้าชนิด ที่นิยมใช้กันมาก




จักสานตะกร้าพลาสติก

จักสานตะกร้าพลาสติก


อุปกรณ์


1. เส้นพลาสติก
2. กรรไกร
3. หูถือกระเป๋า


วิธีทำ

1. ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ 20-30 ซม.จำนวนความกว้าง 11 เส้น จำนวนความยาว 23 เส้น
2. นำเส้นพลาสตอกที่ตัดไว้โดยนำ 11 เส้น มาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)
3. นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานทีละเส้น
4. เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่น ไม่ให้มีช่องว่าง
5. เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น
6. ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้น ในการสาน 1 รอบ
7. ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย
8. สานสลับเส้น
9. เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม
10. แล้วพับลงมาให้เข้ากับลาย
11. เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของตะกร้า เพื่อทำให้เป็นทรง
12. ใส้หูถือกระเป๋า เป็นขั้นตอนสุดท้าย







วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ผ้าไหมมัดหมี่

กาารผลิตผ้าไหมมัดหมี่

1. ทำการเตรียมเส้นไหมที่จะใช้ในการทอโดยการนำไหมไปกวักเพื่อให้ไหมต่อกันเป็นเส้นแล้วนำมาค่น
2. นำไหมที่ทำการค่นแล้วมามัดหมี่ ให้เป็นลายต่างๆ ตามที่ต้องการ
3. นำไปย้อมในน้ำเดือดโดยสีย้อมไหมที่มีคุณภาพ ถ้าต้องการให้ผ้าไหมมีหลายๆสีจะต้องนำหมี่ที่ย้อมแล้ว ไปโอบหมี่ แล้วล้างสีออกในน้ำเดือดโดยเติมด่างเหม็นลงไปในน้ำเดือด แล้วนำไปย้อมเป็นสีอื่นอีกครั้งตามต้องการ
4. นำหมี่ที่ย้อมแล้วมาทำการแก้ จากนั้นนำไปกวักแล้วปั่นหลอด

5. เตรียมไหมเครือโดยเริ่มจากการค่นหูกให้ได้ความยาวตามจำนวนของผ้าไหมตามต้องการ ไหมหนึ่งเครือจะทำผ้าไหมได้ประมาณ 20-30 ผืน
6. ทำการสืบหูกให้เข้ากับฟืมซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอ
7. เตรียมทุกอย่างเรียบร้อยก็เริ่มทอได้เลย โดยการทอผ้าจะเป็นขั้นตอนสุดท้าย เครื่องมือการทอผ้าก็คือ กี่ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ กี่ธรรมดา และกี่กรุตุก



วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

จักสานตะกร้าไม้ไผ่



ขั้นตอนการทำ

1. เลือกไม้ไผ่ขนาดพอดี ไม่แก่เกินไปและไม่อ่อนเกินไป
2. ตัดเป็นท่อนขนาด 3 เมตร แล้วริดข้อไม้ไผ่ให้สวยงาม ขูดผิวไม้ไผ่เล็กน้อย
3. นำมาผ่าเป็นซีก จักตอกตามส่วนหนาของชิ้นไม้ และเหลาให้มีขนาดกลม และแบน โดยใช้เครื่องเลียดตอกเพื่อให้ละเอียด
4. จักตอกแบนเพื่อทำขอบตะกร้าขนาดยาวตามขนาดตะกร้าที่เราต้องการ
5. จักตอกเพื่อทำ ฮวงตะกร้า
6. เริ่มสานฐานตะกร้าก่อน โดยใช้เส้นพลาสติกเป็นฐานรอง สานเป็นลายขัดพอประมาณ นำไม้ไผ่ตอกกลมมาสานลายขดเพื่อขึ้นตัวตะกร้า สานไปได้ครึ่งตะกร้าแล้วใส่ลวดลายดอกผักแว่นเพื่อให้เกิดความสวยงามและสานต่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำไม้ไผ่ที่เตรียมทำขอบไว้มาโค้งรอบตะกร้ามัดด้วยเส้นพลาสติกให้ได้สัดส่วนตามขอบตะกร้า นำฮวงตะกร้ามาประกอบมัดเข้าไว้ก่อนเพื่อให้ได้สัดส่วนตามต้องการแล้วนำเส้นพลาสติกมัดให้แน่น กะระยะให้สวยงา

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

กระติบข้าว



วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว

1.ไม้ไผ่บ้าน
2.ด้ายไนล่อน
3.เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4.กรรไกร
5.มีดโต้
6.เลื่อย
7.เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8.ก้านตาล
9.เครื่องขูดตอก
10.เครื่องกรอด้าย







ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้ายเอาข้อออก แล้วผ่าเป็นซีกทำเส้นตอก ขูดให้เรียบและบาง
2.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว
3.นำกระติบข้าวที่ได้มาพับครึ่งให้เท่าๆกัน
4.ขั้นตอนการทำฝาปิดโดยจักเส้นตอกสานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม ใส่เข้าที่ปลายทั้ง 2 ข้าง
6.ใช้ด้ายไนล่อนและเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7.นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่างที่เป็นตัวกระติบข้าว
8.นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันเพื่อกันไม่ให้แมลงเจาะ และเพื่อความทนทาน ไม่เกิดราดำ
9.นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอกบางเท่ากับฝากระติบ พันด้วยด้ายไนล่อนแล้วเย็บติดฝาขอบบนเพื่อความสวยงาม
10.เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว 2 รู ให้ตรงข้ามกันแล้วทำหูที่ฝาด้านบนตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้
11.ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้